“เบาหวาน” เป็นโรคยอดฮิต ที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน
ที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย (เกิดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1)
หรือผลิตได้เพียงพอ แต่ว่าไม่สามารถเอาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เกิดเป็นเบาหวานชนิดที่ 2)
พอร่างกายไม่มีอินซูลิน หรือมีแต่ก็เอาไปแปลงเป็นพลังงานมาใช้ต่อไม่ได้
น้ำตาลที่กินเข้าไปก็เลยไปสะสมอยู่ในเลือด เหมือนกับน้ำตาลกำลังรอคิว เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน
แต่เมื่อคิวเริ่มยาวขึ้นเรื่อง ๆ อาการเบาหวานจึงปรากฏขึ้นมา เช่น
หิวบ่อย กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย (เพราะไตพยายามจะช่วยเอาน้ำตาลออกไป) ตามัว ชาตามปลายเท้า
ระหว่างที่น้ำตาลต่อคิวกันอยู่ อีกมุมนึง ร่างกายก็แจ้งเตือนว่า ขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย
น้ำหนักลด แผลหายช้า แถมมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
..ใครที่กำลังนึกสงสัยว่าตัวเองเป็นเบาหวานหรือเปล่า และคนที่กำลังเป็นโรคไตและเบาหวานอยู่ จะทำยังไง
ให้คุมน้ำตาลอยู่หมัด แถมมีคุณภาพชีวิตที่ดี๊ดี บทความนี้มีคำตอบแน่นอนค่ะ ^^
แต่ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคุณ
หรือกับเพื่อน ๆ ของคุณ ช่วยแชร์กันไปได้เลยนะคะ อายจะขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ 🙂
น้ำตาลในเลือดเท่าไหร่ถึงเรียกว่าเป็นเบาหวาน ?
>> ตรวจก่อนอาหารเช้า หรือขณะงดอาหาร
70-99 –> ปกติ
100-125 –> เบาหวานแฝง
126 ขึ้นไป –> เบาหวาน
>> ตรวจหลังกินอาหาร
น้อยกว่า 140 –> ปกติ
140-199 –> เบาหวานแฝง
200 ขึ้นไป –> เบาหวาน
**โดยเป้าหมาย คือ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด**
5 วิธีเลือกกินให้มีความสุข และสุขภาพดี
1. ลดปริมาณการเติมน้ำตาลในมืออาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะการงดไปเลยอาจทำได้ยาก
เนื่องจากคนเราไม่ได้กินอาหารเพื่อความอิ่มอย่างเดียว
แต่ต้องการความสุขและอารมณ์ที่ดีในการกินด้วย
จึงแนะนำว่าค่อย ๆ ลดการปรุงน้ำตาลลงจะแฮปปี้กว่า
แต่หากทนไม่ได้ อยากกินหวานจริง ๆ อาจจะใช้สารให้ความหวานแทนได้ค่ะ
สารให้ความหวานยอดฮิต เช่น หญ้าหวาน ซูคราโลส มอลทิทอล ไซลิทอล
แอสปาแทม นีโอแทม เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ใช่ว่าทานได้ไม่จำกัด
ต้องทานให้พอดีด้วยนะคะ
2. ควบคุมคาร์โบไฮเดรต จริง ๆ แล้ว แป้งและน้ำตาล
อาจไม่ใช่ตัวอันตรายที่น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิดค่ะ
เพราะสิ่งสำคัญคือ เราต้องพิจารณาคาร์โบไฮเดรตโดยรวมในแต่ละวัน
(ข้าว แป้ง น้ำตาล เส้นก๋วยเตี๋ยวต่างๆ ขนมปัง เบเกอรี่ทั้งหลาย)
ต่อให้เราไม่กินน้ำตาลกับแป้งเลยสักนิด
..แต่เราก็ยังน้ำตาลขึ้นได้ จากโปรตีน ไขมัน ใยอาหารที่กินเข้าไป
เพราะสุดท้ายแล้ว อะไรที่เรากินมากเกินไป ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลอยู่ดีนั่นเอง
ดังนั้นหลักสำคัญก็คือ การทานอย่างพอดี จะทานน้อย ๆ แต่หลายมื้อ หรือจะทานมื้อหลักเยอะหน่อย
แต่แตะของว่างน้อย ๆ ก็ยังได้
3. เลือกทานอาหารไขมันต่ำ และมีไขมันดี โดยค่าไขมันที่ดี..
โคเลสเตอรอล ควรน้อยกว่า 200 mg./dL
LDL ต่ำกว่า 100 mg./dL
HDL ผู้ชายควรมากกว่า 40 mg./dL ผู้หญิงควรมากกว่า 50 mg./dL
และไตรกลีเซอไรด์ ควรน้อยกว่า 150 mg./dL
เนื่องจาก คนเป็นเบาหวานและไต มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ ที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
จึงควรเลี่ยงไขมันทรานส์ ในขนมอบกรอบและเบเกอรี่คุณภาพต่ำทั้งหลาย
และต้องเลือกใช้น้ำมันที่ดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก
จะช่วยลดความเสี่ยงโรคแทรกซ้อนได้เยอะเลยค่ะ
4. ควบคุมโซดียม เพื่อให้ความดันอยู่ในเกณฑ์ **ต่ำกว่า 140/90** จะช่วยหัวใจและไต ไม่ให้ทำงานหนักเกินไป
แถมช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบ เทคนิคการคุมโซเดียม ก็คือ การลดเครื่องปรุงลง
โดยเฉพาะเกลือ น้ำปลา ผลชูรส ผงฟู และสารปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ คือ ทานอาหารที่ใกล้เคียงธรรรมชาติที่สุด
ปรุงแต่งให้น้อยที่สุดนั่นเองค่ะ
5. ฝึกอ่านฉลากโภชนาการ ข้อสุดท้ายนี้บอกเลยว่าสำคัญไม่แพ้ข้ออื่น
เพราะยุคนี้ อาหาร ขนม เครื่องดื่ม มีให้เลือกซื้อเยอะมาก
เพราะงั้น อายมองว่าสกิลติดตัวที่ไม่ว่าจะเป็นคนป่วยหรือคนปกติต้องมี
ก็คือ การอ่าน Nutrition หรือฉลากโภชนาการให้เป็น
เพราะนอกจากจะช่วยให้เราควบคุมการกินได้ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้นแล้ว
ยังช่วยประหยัดเงินและเวลา ให้กับเราได้อีกด้วยค่ะ
ตัวอย่าง (ภาพนี้เป็น Nutrition ของคุกกี้โรคไต Kidneymeal ที่อายผลิตเองค่ะ)
1 หน่วยบริโภค มี 4 ชิ้น หรือ 20 กรัม
และ 1 กล่อง มีทั้งหมด 4 หน่วยบริโภค หรือแปลง่าย ๆ ว่า ควรแบ่งกิน 4 ครั้ง
พลังงานทั้งหมด 117 kcal โดยเป็นพลังงานที่มาจากไขมัน 63 kcal
ถือว่าให้พลังงานระดับปานกลาง
เหมาะกับผู้ป่วยที่ทานอาหารได้น้อย เบื่ออาหาร จะช่วยให้ร่างกายมีแรงมากขึ้น
หรือผู้ป่วยฟอกไต ที่หลังฟอกจะมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ จะช่วยแก้มึนได้
ไขมันทั้งหมด 7 กรัม , โคเลสเตอรอล 4 มิลลิกรัม
โปรตีน 1.5 กรัม หรือเทียบเท่ากับกินไข่ขาวครึ่งฟอง
คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม
น้ำตาล 5 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา **ผู้ป่วยเบาหวานสามารถทานวันละ 1 หน่วยได้ค่ะ
โซเดียม 12 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 16 มิลลิกรัม
**อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ๆ ไม่เกิน 2% จากที่ผู้ป่วยโรคไตควรได้รับต่อวัน
และนี่คือเทคนิคทั้งหมดที่อายเอามาฝากกันค่ะ อ่านจบแล้ว อย่าลืมแชร์บทความนี้
ให้คนที่คุณรักกันด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือ บำบัดเบาหวานด้วยอาหาร