เป็นโรคไต กินเนย, ขนมปัง, ชา, กาแฟ ได้ไหม ?
เชื่อว่า คงจะมีทั้งคนที่ตอบว่า “ได้” และตอบว่า “ไม่ได้” แต่คำตอบจะเป็นอย่างไหน และเพราะอะไร
วันนี้เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ ^^
อาหารหลายอย่าง ที่ตอนนี้เราอาจกำลังเข้าใจผิด คิดว่าเป็นอาหารต้องห้าม สำหรับคนที่เป็นโรคไต
และอายได้ยินคำถามเหล่านี้มาเยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะจากคนที่เจอตามที่ฟอกไต หรือแชทเข้ามาคุยในเพจก็ตาม
อายบอกเลยว่า เนื้อหาที่อายรวบรวมเอามาไว้ในบทความนี้
ล้วนมาจากคำถามที่เจอประจำ และเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันเยอะมาก ๆ
เพราะงั้น บทความนี้อาจจะเป็นข่าวดีสำหรับใครบางคน ที่ชื่นชอบอาหาร 6 อย่างนี้ แต่คิดว่ากินไม่ได้
แต่ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์
ช่วยแชร์ไปให้เพื่อน ๆ กันด้วยนะคะ ขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ 🙂
เนย (Butter)
เชื่อไหมคะ ว่าจริง ๆ แล้ว เนยมีฟอสฟอรัสต่ำ
หืมมม.. หลายคนอาจจะ งง ว่าจริงหรอ ที่รู้มา มันกินไม่ได้นี่นา ?
คุณหมอ คุณพยาบาล หรือตำราหลาย ๆ เล่มก็บอกว่ากินไม่ได้ เพราะฟอสฟอรัสสูง
..แต่ความจริงก็คือ
“เนย” ทำมาจากไขมันนม ไม่ใช่ทำจากนม อย่างที่หลายคนเข้าใจ ความแตกต่างก็คือ ส่วนไขมันจากนม จะมีฟอสฟอรัสที่ต่ำกว่า
ส่วน ชีส อันนี้ทำมาจากนม ฟอสฟอรัสก็เลยสูงกว่านั่นเอง (เนยที่พูดกันว่าฟอสฟอรัสสูง ที่จริงแล้ว ต้องพูดว่า เนยแข็ง ค่ะ)
โดยเนยที่นิยมใช้กันจะมีสองตัว คือ
1. เนยเค็ม ตัวนี้เป็นเนยทาขนมปัง และใช้ทำขนม ทำเบเกอรี่มากที่สุด แต่ไม่แนะนำให้คนที่เป็นโรคไตทาน
เพราะเนยนี้จะมีการใส่เกลือลงไปด้วย เลยออกมาเป็นเนยเค็ม โซเดียมจะสูงไปด้วย
2. เนยจืด ตัวนี้เป็นตัวที่แนะนำค่ะ แต่ว่าจะต้องเลือกยี่ห้อ และดูไปถึงส่วนประกอบด้วย เพราะบางที
จะมีบางยี่ห้อที่ผสมนมลงไป ผสมน้ำมัน ผสมน้ำ หรือมีการแต่งเติมด้วยสารต่าง ๆ ทำให้ฟอสฟอรัสยังสูงอยู่
แต่ถ้าเป็นเนยสดแท้ แบบ 100% จึงฟอสฟอรัสต่ำนั่นเองค่ะ
**เนยจืด 100 กรัม มีฟอสฟอรัส 24 mg. (ถ้าฟอสฟอรัสต่ำ ค่าจะไม่เกิน 50 mg.)
น้ำเต้าหู้ (Soy Milk)
จริง ๆ แล้ว อายอยากจะบอกว่า น้ำเต้าหู้ ผู้ป่วยโรคไตสามารถดื่มได้ เพราะถึงแม้จะทำจากถั่วเหลือง
ซึ่งดูแล้วฟอสฟอรัสน่าจะสูง ใช่ไหมคะ ?
ความเข้าใจผิดนี้ อายขออธิบายง่าย ๆ เลยก็คือ ส่วนของถั่วเหลือง ที่ฟอสฟอรัสสูงนั้น
อยู่ตรงเปลือกแข็ง ๆ เพราะงั้นถ้าเรากินถั่วเหลืองทั้งเมล็ด แบบนี้ฟอสฟอรัสสูงแน่นอนค่ะ
แต่ในกระบวนการทำน้ำเต้าหู้ ได้มีการเอากากทิ้ง เหลือแต่ส่วนที่เป็นน้ำ แถมยังเอาไปเจือจางต่ออีกด้วย
ดังนั้น ฟอสฟอรัสจึงเหลืออยู่น้อยมากค่ะ ตามปริมาณที่คู่มือควบคุมปริมาณฟอสฟรัสในอาหารเล่มนี้ goo.gl/vT9xFp
แนะนำไว้คือ น้ำเต้าหู้ 240 ml. จะมีฟอสฟอรัสอยู่เพียง 40 mg. เท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำค่ะ
แต่คำแนะนำเพิ่มเติม คือ ต้องเป็นน้ำเต้าหู้ที่ทำสด และเป็นน้ำเต้าหู้แท้ ๆ ที่ไม่ผสมนมอื่น
เพราะนมอื่นที่ล่ะค่ะ ที่จะทำให้ฟอสฟอรัสสูงได้
**น้ำเต้าหู้ 240 ml. มีฟอสฟอรัส 40 mg. (ถ้าฟอสฟอรัสต่ำ ค่าจะไม่เกิน 50 mg.)
แป้งสาลี (Wheat Flour)
แป้งสาลี มีอยู่ 3 ชนิด แบ่งออกเป็น แป้งขนมปัง แป้งสาลีเอนกประสงค์ และแป้งเค้ก
โดยแบ่งตามปริมาณโปรตีนค่ะ ซึ่งแป้งที่แนะนำจะเป็น แป้งสาลีเอนกประสงค์ และแป้งเค้ก
เพราะมีโปรตีนไม่สูงมาก รวมถึงฟอสฟอรัสจะต่ำด้วย
เวลาที่เราได้ยินมาว่า ห้ามกินอาหารที่ใช้แป้งสาลี จริง ๆ แล้วต้องดูด้วยค่ะว่า
ขนมนั้นใช้แป้งสาลีชนิดไหน และถ้าเรากินในปริมาณน้อย แน่นอนว่าย่อมไม่ส่งผลอะไรกับเราแน่นอนค่ะ
ซึ่งในกระบวนการทำแป้งสาลีนั้น จะใช้เป็นตัวเมล็ดข้าวสีขาว เอาจมูกข้าวออกแล้ว (แป้งสาลีเลยมีสีขาว)
ฟอสฟอรัสและสารอาหารเลยกว่าพวกแป้งโฮลวีท ที่ใช้ข้าวสาลีเต็มเมล็ดมาโม่ (สีเลยจะออกมาเหลืองน้ำตาล)
โดยแป้งขนมปังจะผ่านการโม่แค่รอบเดียว เป็นการโม่แบบหยาบสุด สารอาหารต่าง ๆ เลยยังมีเยอะ
ส่วนแป้งสาลีเอนกประสงค์ก็ผ่าน 2 รอบ และแป้งเค้กผ่าน 3 รอบ เลยสังเกตได้ว่า แป้งเค้กจะมีเนื้อที่ละเอียดสุด
และเบาที่สุดด้วยค่ะ
เพราะฉะนั้น แป้งสาลี เลยทานได้ แต่แนะนำว่า ถ้าจะเอามาทำเบเกอรี่ ต้องดูที่ส่วนผสมอื่น ๆ ประกอบด้วยนะคะ
อย่างไข่แดง ผงฟู และสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่จะต้องควบคุมปริมาณด้วย
ไม่งั้นฟอสฟอรัสก็จะยังคงสูงอยู่ดีค่ะ เราเลยได้ยินกันมาตลอดว่า ห้ามกินพวกเบเกอรี่ เพราะเบเกอรี่ที่ขายทั่ว ๆ ไป
เขาไม่ได้ควบคุมฟอสฟอรัส ให้ผู้ป่วย เนื่องจากคนปกติกินฟอสฟอรัสได้ เพราะไตยังขับออกไปได้นั่นเองค่ะ
**แป้งสาลีเอนกประสงค์ มีปริมาณฟอสฟอรัสขึ้นกับชนิดของพันธุ์ข้าวสาลีของแต่ละประเทศ
โดยเฉลี่ยแล้ว แป้ง 1 กรัม จะมีฟอสฟอรัสประมาณ 1 กรัม เลยเน้นไปที่กรจำกัดจำนวนชิ้นของขนมที่เรากิน
ถ้ากินน้อย ฟอสฟอรัสก็จะต่ำค่ะ
ชาและกาแฟ (Coffee and Tea)
สำหรับชา และกาแฟ มีจุดร่วมก็คือ ผู้ป่วยสามารถทานได้ค่ะ แต่ต้องเป็นแบบที่ไม่ใส่นม ไม่ 3 in 1
และไม่ใช่แบบชงใส่ขวดสำเร็จรูป
อายจะบอกว่า กาแฟ ที่เป็นกาแฟดำ หรือโอเลี้ยง สามารถทานได้ ส่วนชา ก็ควรเป็นชาที่ใส่น้ำร้อนแล้วเป็นถุงแช่
แบบในภาพประกอบนะคะ เพราะ 2 อย่างนี้จริง ๆ ฟอสฟอรัสต่ำ เพียงแต่ที่เราบอกกันว่าสูงเพราะมีการใส่นม และสารปรุงแต่ง
ส่วนใหญ่ที่เราเคยได้ยินกันก็คือ ห้ามกินเลย เพื่อความปลอดภัยที่สุด ..แต่ถ้าใครชอบกิน ก็กินตามที่แนะนำนี้ได้นะคะ
ยกเว้นผู้ที่ปัญหาฟอสฟอรัสในเลือดสูงมาก ๆ อันนี้ก็ควรลดไปก่อนน๊าา
**ผงกาแฟ 2 g. มีฟอสฟอรัส 6 mg.
ซอสถั่วเหลือง (Soy Sauase)
เครื่องปรุงที่แนะนำมากที่สุด สำหรับผู้ป่วยโรคไตเลยค่ะ เพราะนอกจากจะให้ความเค็มเทียบเท่าน้ำปลา
หรือซีอิ๊วขาวแล้ว ยังมีปริมาณโซเดียม ที่ต่ำกว่าน้ำปลาครึ่งนึงเลยค่ะ มีผู้ป่วยหลายคนคิดว่า
ซอสถั่วเหลือง ก็มาจากถั่วสิ กินได้หรอ วันนี้อายบอกเลยค่ะว่า กินได้แน่นอน
โดยมื้อนึง จะแนะนำให้ปรุงสัก 2-3 ช้อนชาค่ะ
ขนมปัง (Bread)
ตัวนี้น่าจะเป็นของโปรดของหลาย ๆ คนเลย ขนมปังที่แนะนำ จะเป็นขนมปังแผ่นสีขาว วันนึงกินได้ 1-2 แผ่น
และแนะนำให้ทาเป็นพวกแยมผลไม้ตามชอบเลยค่ะ แต่กลุ่มขนมปังมีไส้ และโฮลวีท จะฟอสฟอรัสสูง ไม่แนะนำนะคะ
เพราะฉะนั้น มื้อไหนเบื่อข้าว ก็หันมากินเป็นนมปังแผ่นสีขาวแทนได้ค่ะ
ในทางกระบวนการทำขนมปังที่อายเรียนมา รวมถึงนักกำหนดอาหารในโรงพยาบาลเอง
เป็นคนคอนเฟิร์มมา 100% ค่ะว่า ผู้ป่วยโรคไตกินขนมปังขาวได้ ^^
**ขนมปังแผ่น สีขาว 1 แผ่น มีฟอสฟอรัส 25 mg. (ถ้าฟอสฟอรัสต่ำ ค่าจะไม่เกิน 50 mg.)
เป็นยังไงกันบ้างคะ กับ 6 อาหารยอดฮิต ที่คนเป็นโรคไตเข้าใจผิด คิดว่ากินไม่ได้
สุดท้ายนี้ อายอยากจะฝากไว้ว่า การกินอาหารต้องกินให้สมดุล ไม่มากเกินไปจนเกิดโรค
และไม่น้อยเกินไปจนขาดสารอาหาร ถ้าเรากินอาหารอย่างพอเหมาะ เน้นสลับอาหารบ้าง
ไม่กินอย่างเดียวซ้ำนาน ๆ ไม่กินบางอย่างมากเกินไป รับรองว่า สุขภาพและผลเลือดคุณจะดีแน่นอน
ขอให้ทุกคนมีความสุขและแข็งแรง ๆ กันถ้วนหน้า นะคะ
อย่าลืมแชร์บทความนี้ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ ^^
ข้อมูลอ้างอิง :
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0750/butter-เนย
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1163/soy-sauce-ซอสถั่วเหลือง
http://www.mayoclinic.org/food-and-nutrition/expert-answers/faq-20058408
http://nutritiondata.self.com/facts/dairy-and-egg-products/133/2