เต้าหู้ ทำมาจากถั่วเหลือง ทำไมเป็นโรคไตถึงกินได้ ?
เต้าหู้ในตลาด ก็มีหลายแบบ จะเลือกกินแบบไหนดี ?
แล้วแต่ละมื้อ กินได้เท่าไหร่กันแน่ ?
ทุกข้อสงสัย ที่คุณมี หรือที่เคยได้ยินมาเกี่ยวกับเต้าหู้
บทความนี้อายจะมาคลายข้อสงสัยให้ค่ะ ^^
เต้าหู้ (Tofu)
เป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากการแปรรูปถั่วเหลือง ซึ่งถั่วเหลือง ถือว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
ทั้งในแง่โปรตีน วิตามินต่าง ๆ รวมถึงแร่ธาตุอย่าง ฟอสฟอรัสด้วย
จากที่เราเคยได้ยินกันมาว่า ถั่วเหลือง คนที่เป็นโรคไตห้ามแตะ เพราะเป็นถั่ว ฟอสฟอรัสสูง !!
แต่จริง ๆ แล้ว อายจะบอกว่า มันถูกเพียงครึ่งเดียวค่ะ
เพราะว่า ถั่วเหลืองเต็มเมล็ดนั้นมีฟอสฟอรัสสูงก็จริง
แต่ถ้าเอามาผ่านกระบวนการแปรรูปแล้ว มันจะเทียบกันตรง ๆ แบบนั้นไม่ได้ค่ะ
ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์กับตัวคุณ หรือกับเพื่อน ๆ ของคุณ
ช่วยแชร์กันไปได้เลยนะคะ อายจะขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ 🙂
โดยทั่วไป วิธีการทำ เต้าหู้ ก็คือ การเอาถั่วเหลืองมาล้างให้สะอาด
แล้วบดหรือปั่น จากนั้นเอามาต้มต่อ ให้เกิดเป็น น้ำเต้าหู้ ดังนั้น สารอาหารต่าง ๆ ก็เลยเจือจางมาก
** นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ ก็เลยมีฟอสฟอรัสต่ำ 240 ml. มีฟอสฟอรัสเพียง 40 mg. เท่านั้นเอง
แถมยังอุดมไปด้วยโปรตีน, วิตามิน, ไม่มี lactose และ casein ทำให้คนที่แพ้นมวัว ก็สามารถดื่มได้โดยที่ท้องไม่เสีย**
พอได้น้ำเต้าหู้เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเติมเกลือลงไป เพื่อให้โปรตีนมาจับตัวกันแล้วตกตะกอน ลงมา
จากนั้นเอาไปอัดเป็นก้อน ๆ จึงได้ออกมาเป็น เต้าหู้แข็งขาว แบบที่เราเห็นวางขายทั่วไป นั่นเองค่ะ
โดยทั่วไป เต้าหู้ จะมีอยู่ 3 ประเภท
เต้าหู้อ่อนขาว : เป็นเต้าหู้ที่มีเนื้ออ่อนนุ่ม มีสีขาวนวลกลิ่นหอม มีให้เลือกทั้งแบบก้อนบาง และก้อนหนา นิยมนำมาใส่แกงจืด และสุกี้ยากี้
เต้าหู้แข็งขาว/เหลือง : เต้าหู้ขาวจะมีเนื้อแข็ง สีขาวนวลออกครีมๆ มักทำออกมาเป็นก้อนสี่เหลี่ยม หนาประมาณ 1 เซนติเมตร เหมาะสำหรับทำอาหารหลายชนิด เช่น ยำ ลาบ แกง ผัด
ส่วนเต้าหู้เหลือง เนื้อจะมีสีขาวนวล และ มีการนำไปจุ่มขมิ้นให้มีสีเหลือง โดยจะมีรสออกเค็มกว่าเต้าหู้สีขาว เพราะเอาไปแช่ในน้ำเกลือด้วย และมีอายุการเก็บนานกว่าเต้าหู้ขาวธรรมดา มักจะเห็นบ่อย ๆ อย่างในผัดถั่วงอก หรือผัดไทย
เต้าหู้ไข่ไก่ หรือเต้าหู้หลอด : เป็นเต้าหู้อ่อนอีกชนิดหนึ่ง ที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย บรรจุลงในหลอดพลาสติกแบบสุญญากาศ ทำให้รักษาความสะอาดได้ดี เก็บได้นาน สะดวกในการใช้ มีทั้งแบบธรรมดา แบบไข่ไก้ทั้งฟอง และแบบไข่ขาวล้วนด้วยค่ะ
คุณค่าทางโภชนาการตามตารางนี้นะคะ
จะเห็นว่า นมถั่วเหลือง (น้ำเต้าหู้) จะมีค่าฟอสฟอรัสที่ต่ำมาก ส่วนค่าฟอสฟอรัสในเต้าหู้แข็งก็จะดูค่าสูง
แต่อายจะบอกว่า ปกติ อาหารมื้อนึงเรากินเต้าหู้ ไม่ถึง 100 กรัม กันหรอกค่ะ
และเวลาเรากินเข้าไป ร่างกายก็ไม่ได้ดูดซึมฟอสฟอรัสได้ 100% ตามตารางเป๊ะ ๆ ด้วย
**ถ้าเป็นอาหารจากธรรมชาติ ไม่ปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งน้อยมาก ร่างกายจะดูดซึมได้ ประมาณ 50%
ส่วนอาหารสังเคราะห์ ร่างกายจะดูดซึมได้ เกือบ 100% เลย
ปริมาณที่กินได้ สำหรับผู้ป่วยโรคไต
- เต้าหู้ขาวอ่อน 3/4 หลอด (น้ำหนัก 180 กรัม) มีฟอสฟอรัส 80 mg.
- เต้าหู้ไข่ไก่ 1 หลอด (น้ำหนัก 120 กรัม) มีฟอสฟอรัส 80 mg.
- เต้าหูแข็งขาว หรือเหลือง 1/2 ก้อน (น้ำหนัก 80 กรัม) มีฟอสฟอรัส 160 mg.
นอกจากนี้ เต้าหู้ ยังเป็นแหล่งโปรตีน ที่กินแทนเนื้อสัตว์ได้เลย
แถมมีไฟโตสเตอรอล, เลซิติน, มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง
ที่ช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดเลือดโรคหลอดเลือดและหัวใจ
ที่เป็นโรคแทรกซ้อนสุดฮิต ผู้ป่วยโรคไตด้วย โดยต้องกินในปริมาณที่พอเหมาะด้วยนะคะ
มีงานวิจัยชิ้นนึง ได้ทดลองให้คนกินน้ำตาลเข้าไปพร้อมกับถั่วเหลือง
พบว่า..ร่างกายจะดูดซึมน้ำตาลได้ช้าลง
เมื่อเทียบการกินน้ำตาลพร้อมกับอาหารอื่นที่ไม่ใช่ถั่วเหลือง
จึงได้ข้อสรุปออกมาว่า ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะได้รับน้ำตาลส่วนเกิน จากอาหารน้อยลง
ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยคนไหน เป็นโรคไตและเบาหวานร่วมด้วย ก็ยังสามารถกินเต้าหู้ และน้ำเต้าหู้ได้อยู่ดีค่ะ ^^
อายจะยกตัวอย่างในการจัด มื้ออาหารด้วยเมนูเต้าหู้ ในแง่ของโปรตีนกับฟอสฟอรัส
แบบง่าย ๆ ให้ดูกันนะคะ ว่าเราจะกินยังไงดี ถึงจะเรียกว่าพอเหมาะ
** ตัวอย่างวัตถุดิบ **
อกไก่ 100 g. ให้โปรตีน 24 g. มีฟอสฟอรัส 196 mg.
เต้าหู้อ่อนขาว 100 g. ให้โปรตีน 8 g. มีฟอสฟอรัส 44 mg.
เต้าหู้แข็งขาว/เหลือง 100 g. ให้โปรตีน 12 g. มีฟอสฟอรัส 200 mg.
เต้าหู้ไข่ไก่ 100 g. ให้โปรตีน 10.8 g. มีฟอสฟอรัส 67 mg.
สมมติ เราเป็นผู้ป่วยฟอกไต ที่น้ำหนัก 60 Kg. สำหรับคนฟอกไต
จะต้องการโปรตีนมากกว่าคนปกติ ประมาณ 20% ดังนั้น โปรตีนที่ต้องการต่อวัน
จะเป็น 60 x 1.2 = 72 g. หรือเฉลี่ยต่อมื้อ 24 g./มื้อ
#กรณีที่ 1 เมนูอกไก่ผัดพริกไทยดำ : ใช้ อกไก่ 100 g. = ได้โปรตีน 24 g.
–> โปรตีนครบ 24 g. ฟอสฟอรัส 196 g.
#กรณีที่ 2 เมนูอกไก่ทอดกระเทียม : ใช้ อกไก่ 50 g. = ได้โปรตีน 12 g. ฟอสฟอรัส 98 g.
และเมนูถั่วงอกผัดเต้าหู้ : ใช้ เต้าหู้แข็ง 100 g. = ได้โปรตีน 12 g. ฟอสฟอรัส 200 g.
–> รวม 2 เมนู โปรตีนครบ 24 g. ฟอสฟอรัส 298 g.
จะเห็นว่า #กรณีที่ 2 เราได้กินอาหาร 2 เมนู ในขณะที่ได้รับโปรตีน เท่ากับ #กรณีที่ 1
ส่วนในแง่ของฟอสฟอรัส ก็ถือว่าไม่มากเกินไปด้วย
**ผู้ป่วยโรคไต ควรได้รับฟอสฟอรัสไม่เกิน 800-1,000 mg. ต่อวัน
(เฉลี่ยมื้อละ ประมาณ 300 mg. ค่ะ)
เพราะงั้น ที่อายจะบอกก็คือ เราจะสามารถคิดเมนูได้มากขึ้น ถ้าเรารู้จัก การจัดมื้ออาหารค่ะ
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เราสามารถแบ่งใจ ไปเลือกกินเมนูที่เราชอบกินได้
ไม่จำเป็นต้อง ไข่ขาวกับปลาตลอดเวลา
การได้กินอาหารที่หลากหลาย มีข้อดี คือ สารอาหารที่เราได้ จะครบถ้วนกว่า กินอย่างมีความสุขมากกว่า
เจริญอาหารกว่า และที่สำคัญยังทำให้เราไม่เบื่ออีกด้วย นะคะ
สุดท้ายนี้ อายอยากจะฝากไว้ว่า การกินอาหารต้องกินให้สมดุล ไม่มากเกินไปจนเกิดโรค
และไม่น้อยเกินไปจนขาดสารอาหาร ถ้าเรากินอาหารอย่างพอเหมาะ เน้นสลับอาหารบ้าง ไม่กินอย่างเดียวซ้ำนาน ๆ
ไม่กินบางอย่างมากเกินไป รับรองว่า สุขภาพและผลเลือดคุณจะดีอย่างแน่นอน
ขอให้ทุกคนมีความสุขและแข็งแรง ๆ กันถ้วนหน้า นะคะ
อย่าลืมแชร์บทความนี้ให้คนที่คุณรักกันด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ ^^
ข้อมูลอ้างอิง :
หนังสือ คู่มือแนะนำปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร
หนังสือ เมนูรักษ์ไต ใส่ใจคุณภาพ
http://visitdrsant.blogspot.com/2011/09/blog-post_30.html?m=1
http://www.vcharkarn.com/varticle/42433
http://www.foodnetworksolution.com